ระหว่างมกราคม - ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จำนวน 420 ราย ตรวจพบการติดตั้งและใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือไลเซนส์ บนคอมพิวเตอร์จำนวน 2,548 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย หรือมูลค่าการละเมิดฯ มากกว่า 400 ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจที่ตรวจพบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูง
ได้แก่
องค์กรธุรกิจที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมด มีทั้งธุรกิจเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดใหญ่ โดยประมาณ 30% ขององค์กรธุรกิจที่ถูกดำเนินคดีในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา เป็นบริษัทมีสินทรัพย์มากกว่า 100 ล้านบาท
ซอฟต์แวร์ที่มีการละเมิดสูง
ซอฟต์แวร์ที่ตรวจพบว่ามีการติดตั้งและใช้งานโดยไม่มีไลเซนส์ ส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ออกแบบเขียนแบบ เช่น ซอฟต์แวร์ออกแบบทางวิศวกรรม ออกแบบงาน 3D เพื่อสร้างตัวอย่างผลิตภัณฑ์จำลอง ฯลฯ แม้จะพบการติดตั้งและใช้งานอย่างไม่ถูกต้องบนคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มาก แต่ถ้าเป็นซอฟตแวร์ออกแแบบเขียนแบบที่มีมูลค่าสูง จะส่งผลให้มูลค่าความเสียหายหรือมูลค่าการละเมิดสูงตามไปด้วย
ตัวอย่างเช่น
พื้นที่ที่มีการดำเนินคดีสูง
ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มีการดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจที่ทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งส่วนใหญ่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งธุรกิจสำคัญ รวมถึงจังหวัดที่มีพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี ระยอง สมุทรสาคร ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีบางองค์กรธุรกิจที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นๆ เช่น ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต กำแพงเพชร ฯลฯ